วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่ 7 ตัวแทนจำหน่ายการท่องเที่ยว

บทที่ 7
ตัวแทนจำหน่ายการท่องเที่ยว
ปัจจัยที่สำคัญปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในศตวรรษที่ผ่านมาคือ ตัวแทนจำหน่ายการท่องเที่ยว ตัวแทนจำหน่ายการท่องเที่ยวที่สำคัญ 4 ประเภทคือ แทรเวล เอเจนซี่ บริษัททัวร์ บริษทรับจัดการ ณ แหล่งท่องเที่ยว และบริษัทรับจัดการประชุม

แทรเวล เอเจนซี่ (Travel agency)
แทรเวล เอเจนซี่ หมายถึง ธุรกิจขายปลีกที่ได้รับอนุมัติให้เป็นตัวแทนขายสินค้าทางการท่องเที่ยว และช่วยเหลือในการวางแผนการท่องเที่ยวให้ลูกค้าด้วย

บทบาทหน้าที่ของแทรเวล เอเจนซี่
1.จัดหาราคาหรืออัตราสินค้าทางการท่องเที่ยว แทรเวล เอเจนซี่ มีหน้าที่จัดหาราคาต่าง ๆ
2.ทำการจอง โดยทั่วไปการจองบัตรโดยสารเครื่องบินจะเกี่ยวข้องกับการวางแผนเส้นทางการบินและการต่อเครื่องบินจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง
3.รับชำระเงิน แทรเวล เอเจนซี่ ที่ได้รับการรับรองจาก ARC จะได้รับอนุญาตให้ชำระเงินค่าบัตรโดยสารได้ทุกๆ สัปดาห์

ประโยชน์ของการใช้บริการของแทรเวล เอเจนซี่
1.แทรเวล เอเจนซี่มีความชำนาญในการหาข้อมูลและวางแผนการท่องเที่ยว
2.แทรเวล เอเจนซี่สามารถหาข้อเสนอหรือราคาที่ดีที่สุด
3.แทรเวล เอเจนซี่ช่วยประหยัดเวลาและความลำบาก
4.แทรเวล เอเจนซี่ช่วยแก้ปัญหาได้เมื่อเกิดข้อผิดพลาดหรือปัญหา
5.แทรเวล เอเจนซี่รู้จักผู้ประกอบการธุรกิจมากกว่า
6.แทรเวล เอเจนซี่รู้จักแหล่งท่องเที่ยวดีกว่า

ประเภทของแทรเวล เอเจนซี่
1.แบบที่มีมาแต่เดิม (A Convertional Agency)
แทรเวล เอเจนซี่ ประเภทนี้มักจะขายผลิตภัณฑ์และบริการทางการท่องเที่ยวที่หลากหลายและเต็มรูปแบบ แทรเวล เอเจนซี่ประเภทนี้อาจแบ่งย่อยได้อีกตามลักษณะการบริหารจัดการ
1.1 แทรเวล เอเจนซี่ที่เป็นเครือข่าย
1.2 แทรเวล เอเจนซี่แบบเฟรนไชส์
1.3 แทรเวล เอเจนซี่อาจเกี่ยวข้องกันในลักษณะของ คอนซอเตียม (Consortium)
1.4 แทรเวล เอเจนซี่แบบอิสระ
2.แบบที่ขายทางอินเตอร์เน็ต (Online Agencies)
3.แบบที่ชำนาญเฉพาะทาง (Specialized Agencies)
4.แบบที่ประกอบธุรกิจจากที่พัก (Home - Based Agencies)

บริษัททัวร์ (Tour Operator)
บริษัททัวร์ หมายถึง ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวที่จัดทำโปรแกรมทัวร์แบบเหมาจ่ายโดยขายให้กับลูกค้าผ่านทางแทรเวล เอเจนซี่

ประโยชน์ของการให้บริการของบริษัททัวร์
1.ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
2.ประหยัดค่าใช้จ่าย
3.ได้ความรู้
4.ได้เพื่อนใหม่
5.ได้ความสบายใจและรู้สึกปลอดภัย
6.ไม่มีทางเลือกอื่น

ประเภทของทัวร์
1.ทัวร์แบบอิสระ (Independent Tour)
เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางท่องเที่ยวแบบอิสระ จะประกอบด้วยที่พักในโรงแรม บัตรโดยสารเครื่องบิน และบริการรถรับ-ส่งจากสนามบินหรือรถเช่า
2.ทัวร์แบบไม่มีผู้นำเที่ยว (Hosted Tour)
หมายถึง โปรแกรมทัวร์แบบเหมาจ่ายที่ได้รับการบริการจากตัวแทนของบริษัททัวร์ ณ แหล่งท่องเที่ยว ตัวแทนบริษัททัวร์จะเข้ามาพบนักท่องเที่ยวเพื่อให้คำแนะนำหรือคำปรึกษาในเวลาที่กำหนดไว้ในแต่ละวัน
3.ทัวร์แบบมีผู้นำเที่ยว (Escorted Tour)
หมายถึง โปรแกรมทัวร์แบบเหมาจ่ายที่รวมการบริการของมัคคุเทศก์ตลอดเส้นทาง ทัวร์ประเภทนี้นักท่องเที่ยวจะเดินทางเป็นกลุ่มโดยจะมีมัคคุเทศก์ร่วมเดินทางไปด้วย

บริษัทรับจัดการ ณ แหล่งท่องเที่ยว (Destination Management Company or DMC)
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ให้คำจำกัดความดังนี้ "บริษัทที่ดำเนินจัดการเรื่องการขนส่งภาคพื้นดิน การจัดงานเลี้ยง โรงแรมและนำเที่ยวให้แก่กลุ่มท่องเที่ยวแบบที่ได้รับรางวัล (Incentive Group)" ในการจัดการบริการด้านต่างๆ ณ แหล่งท่องเที่ยว ได้แก่
-บริการในการจัดการขนส่งภาคพื้นดิน
-บริการจองห้องพัก
-บริการจัดงานเลี้ยงนอกสถานที่
-บริการจัดกิจกรรมพิเศษ

บริษัทรับจัดการประชุม (Meeting Planner)
บริษัทรับจัดการประชุมมีบทบาทหน้าที่ดังนี้
-เลือกสถานที่สำหรับการประชุม
-จองห้องพัก
-จองห้องประชุม และอุปกรณ์สำหรับการประชุม
-ดำเนินการวางแผนด้านอาหารและเครื่องดื่ม
-วางแผนโปรแกรมสำหรับผู้เข้าประชุมและผู้ติดตาม
-ประสานงานกับผู้จัดการประชุมของโรงแรมและสถานที่จัด
-ประสานงานกับวิทยากรหรือผู้รับเชิญ
-ดำเนินการวางแผนด้านการรักษาการปลอดภัยหรือแก้ไขวิกฤต
-บริการด้านการเดินทางและขนส่ง
-ประเมินผลงานเมื่อการประชุมสิ้นสุดลง

บทที่ 6 ที่พักแรม

บทที่ 6
ที่พักแรม


ธุรกิจที่พักแรมในสากล/ต่างประเทศ
ที่พักแรมเกิดขึ้นสนองความต้องการที่พักของนักเดินทางที่ไม่สามารถไปกลับได้ในวันเดียว ปริมาณการเดินทางในอดีตมีไม่มาก
ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมครั้งใหญ่ในยุโรปความเจริญทางเศรษฐกิจในประเทศต่างๆ ทำให้ปริมาณการเดินทางมีมากทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ
โรงแรม (Hotel) เป็นประเภทธุรกิจที่พักแรมที่สำคัญในปัจจุบัน กลุ่มหรือเชน (Chain) โรงแรมที่สำคัญ ได้แก่ Intercontinental, Holiday Inn, Marriott, Sofitel, Hilton, Conrad, Sheraton, Hyatt, Le Meridien เป็นต้น

ธุรกิจที่พักแรมในประเทศไทย
ธุรกิจที่พักแรมสำหรับบริการนักเดินทางต่างชาติในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาในสมัยรัชกาลที่ 4 ย่านพักของชุมชนชาวตะวันตกในกรุงเทพ ฯยุคแรกกิจการโฮเต็ลหรือโรงแรมที่สำคัญในอดีตได้แก่
-โอเรียนเต็ลโฮเต็ล (Oriental Hotel) สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยกลาสีเรือชาวต่างชาติเป็นเพียงอาคารไม้ชั้นเดียว และปรับปรุงรื้อขยายและสร้างใหม่ เป็นโรงแรมมาตรฐานสากลชั้นนำแห่งหนึ่ง
-โฮเต็ลหัวหิน หรือ โรงแรมรถไฟหัวหิน สร้างเสร็จในปีพ.ศ.2465 ในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยกรมรถไฟหลวง จัดเป็นโรงแรมตากอากาศชายทะเลแห่งแรกของไทย ต่อมาให้เอกชนปรับปรุงและเช่าดำเนินการ(เปลี่ยนชื่อเป็นโรงแรมโซฟิเทลหัวหิน)
-โฮเต็ลวังพญาไท เป็นโรงแรมหรูหราในสมัยรัชกาลที่ 7 โดยปรับปรุงจากพระราชวังพญาไท ปัจจุบันได้รับการบูรณะซ่อมแซมให้งดงาม ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญตั้งอยู่ในบริเวณโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
-โรงแรมรัตนโกสินทร์ สร้างเมื่อพ.ศ.2485 ในสมัยรัชกาลที่ 8 โดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ต่อมาให้เอกชนเช่าดำเนินการเปลี่ยนชื่อเป็น โรงแรมรอยัล(Royal Hotel) ปัจจุบันยังดำเนินการอยู่

ปัจจัยพื้นฐานในการบริการที่พักแรม
-ความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้พัก
-ความสะอาดและสุขอนามัยในสถานที่พัก
-ความสะดวกสบายจากบริการสิ่งอำนวยความสะดวกที่หลากหลาย
-ความเป็นส่วนตัว
-บรรยากาศการตกแต่งที่สวยงาม
-ภาพลักษณ์ของกิจการ

ประเภทที่พักแรม
1.โรงแรม (hotel) เป็นที่พักแรมที่นิยมมากของนักท่องเที่ยวทั่วไป ในพระราชบัญญัติโรงแรม ฉบับปีพ.ศ.2547 ได้ระบุข้อความไว้ว่า
"โรงแรม" หมายความว่า สถานที่พักที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในทางธุรกิจเพื่อให้บริการที่พักชั่วคราวสำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทน
1.1 เกณฑ์การจำแนกประเภทโรงแรม
-ด้านที่ตั้ง (Location)
-ด้านขนาด (Size)
-ด้านจุดประสงค์ของผู้มาพัก (Purpose of visit)
-ด้านราคา (Price/Rate)
-ด้านระดับการบริการ (Service level)
-ด้านการจัดระดับมาตรฐานโดยใช้สัญลักษณ์ (Classification/Grading)
-ด้านความเป็นเจ้าของและรูปแบบการบริหาร (Ownership and management) แบ่งได้ 2 กลุ่มใหญ่
คือ
1.)โรงแรมอิสระ (independent hotel)
2.)โรงแรมจัดการแบบกลุ่ม/เครือ หรือ เชน (chain hotel)
2.ที่พักนักท่องเที่ยว
-บ้านพักเยาวชน หรือ โฮสเทล (youth hostels)
-ที่พักพร้อมอาหารเช้าราคาประหยัด
-ที่พักริมทางหลวง ได้แก่ โมเต็ล (motel)
-ที่พักแบบจัดสรรเวลาพัก หรือไทม์แชริ่ง (timesharing)
-เกสต์เฮ้าส์ (guesthouse)
-อาคารชุดบริการที่พักระยะยาว หรือ เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ (serviced apartment)
-ที่พักกลางแจ้ง (camp site/caravan site)
-โฮมสเตย์ (homestay) หรือ ที่พักสัมผัสวัฒนธรรมชนบท

แผนกงานในโรงแรม

-แผนกงานส่วนหน้า (front office)

-แผนกงานแม่บ้าน (housekeeping)

-แผนกอาหารและเครื่องดื่ม (food & beverage)

-แผนกขายและการตลาด (sales & marketing)

-แผนกบัญชีและการเงิน (accounting)

-แผนกทรัพยากรมนุษย์ (human resources)

ประเภทห้องพัก

-Single ห้องพักสำหรับนอนคนเดียว

-Twin ห้องพักเตียงคู่แฝด

-Double ห้องพักเตียงคู่ที่เป็นเตียงเดียวขนาดใหญ่

-Suite ห้องชุดที่ภายในประกอบด้วยห้องตั้งแต่ 2 ห้องขึ้นไป

บทที่ 5 การคมนาคมขนส่ง

บทที่ 5
การคมนาคมขนส่ง
(Transportation)

การคมนาคมขนส่ง หมายถึง "กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายคน สัตว์ สิ่งของ จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยสื่อกลางต่างๆ ภายใต้และราคาที่ได้ตกลงกันไว้"

พัฒนาการขนส่งทางบก
ประวัติการขนส่ง เริ่มขึ้นในสมัย 200 ปีก่อนคริสตกาลหรือยุคบาบิลอน (Babylon) ซึ่งใช้คนลากรถสองล้อไปบนถนน ก่อนที่จะนำสัตว์เช่น วัว ลา มาช่วยลากรถสองล้อในยุคอียิปต์และกรีก ยุคโรมันจึงได้มีการพัฒนาการขนส่งมาเป็นรถสี่ล้อที่ใช้ม้าลาก พร้อมกับการสร้างถนนเชื่อมต่อระหว่างเมืองและรัฐต่างๆ ในยุคนั้น ต่อมาในปีค.ศ. 1480 ได้มีการประดิษฐ์รถม้าโดยสาร (stage coach) ในประเทศอังกฤษขึ้นเป็นครั้งแรก
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 18 ได้มีการประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ (Steam Engine) ต่อมาความนิยมเดินทางโดนรถไฟได้ลดน้อยลง ได้มีการประดิษฐ์คิดค้นและพัฒนารถยนต์ขึ้นในปี ค.ศ.1920

พัฒนาการขนส่งทางน้ำ
การขนส่งทางน้ำ เป็นการขนส่งที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยมีการพัฒนาแพขึ้นมาจากท่อนไม้ และต่อมานำต้นไม้ทั้งต้นมาขุด เจาะเป็นเรือ หลังจากนั้นก็ได้มีการพัฒนาขึ้นโดยนำเอาหนังสัตว์ขนาดต่างๆ มาขึงโครงไม้ทำเป็นเรือที่เรียกว่าเรือหนังสัตว์ (coracles) การขนส่งทางน้ำโดยใช้เรือเป็นพาหนะ ต่อมาได้มีการพัฒนาเรือที่ใช้เครื่องจักรไอน้ำทำให้สามารถแล่นเรือได้รวดเร็วและไกลขึ้น
ค.ศ. 1815 ได้มีบริการท่องเที่ยวด้วยเรือสำราญอังกฤษชื่อ ซีลอน ของบริษัท Peninsula Oriental Steam ต่อมามีการต่อเรือสำราญที่สมบูรณ์แบบ ขนาดกว้างชื่อ Princesses Victoria Louis ในปี ค.ศ.1900 ต่อมาในปี ค.ศ. 1819 มีเรือที่สามารถเดินทางข้ามมหาสมุทรเป็นครั้งแรกได้คือ เรือกลไฟ "Savannah" ในประเทศไทยได้มีบริษัทที่ตั้งขึ้นมาเพื่อรองรับธุรกิจเรือสำราญของคนไทยขึ้น 2 บริษัทได้แก่ บริษัท ซีทราน ควีน (Seatran Queen) กับบริษัทสยามครูซ จำกัด

พัฒนาการขนส่งทางอากาศ (Air Transportation)

หลังจากปี ค.ศ.1903 ซึ่งเป็นปีที่สองพี่น้องตระกูล Wright ได้คิดค้นและประดิษฐ์เครื่องบินขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ.1919 เที่ยวบินทางด้านธุรกิจครั้งแรกในโลกก็บังเกิดขึ้นระหว่าง London และ Paris แต่เที่ยวบินให้บริการในการขนส่งผู้โดยสารได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นการให้บริการเที่ยวบินโดยสารประจำทาง (Scheduled Flight) โดยบินระหว่าง Boston กับ New York ในปี ค.ศ.1927

ประเภทของธุรกิจการคมนาคมขนส่งเพื่อการท่องเที่ยว

1.ธุรกิจการขนส่งทางบก

-การเดินทางท่องเที่ยว

-การเดินทางท่องเที่ยวโดยรถยนต์ส่วนบุคคล

-การเดินทางท่องเที่ยวโดยรถเช่า (rental car)

-ธุรกิจการเช่ารถ แบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1.)บริษัทเช่ารถระหว่างประเทศขนาดใหญ่

2.)บริษัทรถเช่าขนาดเล็กอิสระ

-รถตู้เพื่อนันทนาการ (recreational car)

-รถโดยสารเพื่อการเดินทางการท่องเที่ยว (bus/coach/motorcoach) แบ่งได้ 2 ประเภทคือ

1.)รถโดยสารประจำทาง (schedule)

2.)รถโดยสารไม่ประจำทางหรือรถเช่าเหมา (charter)

2.ธุรกิจการขนส่งทางน้ำ (Water transportation)

3.ธุรกิจการขนส่งทางอากาศ (Air Transportation)

วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่ 4 องค์ประกอบสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

บทที่ 4
องค์ประกอบสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว


แหล่งท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยวจัดเป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งที่มีช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและเป็นปัจจัยที่ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางเข้ามาในประเทศ มีคำจำกัดความ 3 คำที่จำเป็นในการศึกษาแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่
1.ทรัพยากรทางการท่องเที่ยว (Tourism Resources)
หมายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งที่อยู่ในรูปธรรมและนามธรรม ซึ่งมนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจและประกอบกิจกรรมนันทนาการ อันนำมาซึ่งความพึงพอใจและความสุขในรูปแบบต่างๆ ได้
2.จุดหมายปลายทาง (Destination)
หมายถึงสถานที่ที่ใดที่หนึ่ง อาจจะเฉพาะเจาะจงหรืออาจจะเป็นสถานที่ทั่วๆ ไป หรืออาจเป็นหลายๆ สถานที่ ต่อการเดินทางครั้งหนึ่ง
3.สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว (Tourism Attraction)
หมายถึงสถานที่ที่มีศักยภาพในการดึงดูดให้ผู้คนเดินทางเข้าไปเยี่ยมชม หรือประกอบกิจกรรมเพื่อให้ได้รับความพึงพอใจ

ประเภทของแหล่งท่องเที่ยว
ขอบเขต
อาจแบ่งแหล่งท่องเที่ยวเป็น 2 ประเภทตามขอบเขตได้แก่ จุดมุ่งหมายหลัก (Primary Destination) และจุดมุ่งหมายรอง (Secondary Destination or Stopover Destination)
ความเป็นเจ้าของ
แหล่งท่องเที่ยวทั้งที่เป็นสถานที่ทางธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น อาจจัดแบ่งได้ตามความเป็นเจ้าของ ผู้ที่จัดว่าเป็นเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวได้แก่ รัฐบาล (Government) องค์กรที่ไม่หวังผลกำไร (Non profit Organization) และเอกชน (Private)
ศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยว
แหล่งท่องเที่ยวแต่ละแห่งจะสนองความต้องการ หรือจุดประสงค์ของนักท่องเที่ยวต่างกันไป
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้แบ่งแหล่งท่องเที่ยวออกเป็น 3 ประเภทได้แก่
1.แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติ
2.แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น
3.แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรมของผู้คนในท้องถิ่น

แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติ
หมายถึง สถานที่ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติทั้งทางด้านชีวภาพ และกายภาพ รวมทั้งบริเวณที่มนุษย์เข้าไปปรับปรุงแต่งเพิ่มเติมจากสภาพธรรมชาติในบางส่วน ทรัพยากรประเภทนี้ไม่มีต้นทุนทางการผลิตแต่มีต้นทุนในด้านการดูแลรักษา

แหล่งท่องเที่ยวที่มนุษย์สร้างขึ้น
คือสถานที่ที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างและอายุ เป็นทรัพยากรที่มีค่าทางการท่องเที่ยวได้แก่ ศาสนสถาน โบราณสถาน โบราณวัตถุ และสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ
สำหรับโบราณสถานที่มีในประเทศไทยนั้นกรมศิลปากรได้แบ่งโบราณสถานออกเป็น 7 ประเภทได้แก่
1.โบราณสถานสัญลักษณ์แห่งชาติ
2.อนุสาวรีย์แห่งชาติ
3.อาคารสถาปัตยกรรมแห่งชาติ
4.ย่านประวัติศาสตร์
5.อุทยานประวัติศาสตร์แห่งชาติ
6.นครประวัติศาสตร์แห่งชาติ
7.ซากโบราณสถานและแหล่งโบราณคดีประวัติศาสตร์แห่งชาติ

แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรมของผู้คนในท้องถิ่น
"วัฒนธรรม" หมายถึง "แบบอย่างหรือวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชนแต่ละกลุ่ม เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมการอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุขในสังคม" วัฒนธรรมแต่ละสังคมจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์และทรัพยากรต่างๆ ลักษณะอีกประการหนึ่งของวัฒนธรรมคือ เป็นการสั่งสมความคิด ความเชื่อ วิธีการ จากสังคมรุ่นก่อนๆ มีการเรียนรู้และสามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อๆ ไปได้ วัฒนธรรมใดที่มีรูปแบบหรือแนวความคิดที่ไม่เหมาะสมก็อาจจะเลือนหายไป วัฒนธรรมที่เป็นแนวความคิด ความเชื่อ เป็นนามธรรมล้วนๆ แต่เพียงอย่างเดียว ไม่ถือว่าเป็นทรัพยากรทางการท่องเที่ยว วัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรมเท่านั้น จึงจะสามารถพัฒนาให้เป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยวได้

บทที่ 3 ปัจจัยที่มีอิทธพลต่อการเดินทางนักท่องเที่ยว

บทที่ 3
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเดินทางนักท่องเที่ยว

แรงจูงใจ
แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวแตกต่างไปจากแรงจูงใจในวิชาจิตวิทยา เป็นตัวกำหนดบุคลิกภาพของบุคคลแรงจูงใจทางด้านการท่องเที่ยว หรือแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวเป็นแนวคิดที่เป็นแบบลูกผสมระหว่างแนวคิดทางจิตวิทยา (Psychological) ผสมกับแนวคิดทางด้านสังคมวิทยา (Sociological) แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวจึงหมายถึงเครือข่าย (Network) ส่วนที่เป็นพลังด้านจิตวิทยาคือความต้องการการพักผ่อนจากความเหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน ความต้องการที่จะได้เห็นสิ่งที่แปลกใหม่
ทฤษฎีต่างๆ เกี่ยวกับแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว
1.ทฤษฎีลำดับขั้นแห่งความต้องการจำเป็น (Hierarchy of needs)
เป็นทฤษฎีของ Maslow กล่าวว่ามนุษย์เป็นสัตว์ที่มีความต้องการ (wanting animals) และมนุษย์จะแสดงพฤติกรรมต่างๆ เพื่อที่จะสนองตอบความต้องการ (wants) และความต้องการจำเป็นต่างๆ (needs) ความต้องการของมนุษย์ไม่มีวันจบสิ้น Maslow ได้เสนอลำดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ทั้งหลายรวม 5 ขั้น ซึ่งความต้องการเหล่านั้นจะเป็นตัวกระตุ้น (motivation)
ในระดับล่างสุดคือ ความต้องการทางสรีระหรือความต้องการทางร่างกายซึ่งเป็นความต้องการที่จะมีชีวิตอยู่รอด เช่น ความต้องการอาหาร น้ำดื่ม ยารักษาโรค เมื่อความต้องการในระดับนี้ได้รับการตอบสนองจนพอใจแล้วความต้องการนี้ก็ไม่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมอีกต่อไป ความต้องการในระดับถัดไปคือความต้องการที่จะได้รับความปลอดภัยซึ่งรวมไปถึงความปลอดภัย เมื่อความต้องการในขั้นนี้ได้รับการตอบสนองความต้องการทางสังคมก็จะทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นตัวต่อไปได้แก่ความต้องการที่จะได้รับการยอมรับจากสังคม ความต้องการทั้งสามระดับที่กล่าวถึงมาแล้วนี้เรียกว่าเป็นความต้องการในระดับพื้นฐานหรือความต้องการในระดับปฐมภูมิ ระดับปฐมภูมิคือความต้องการที่มุ่งเน้นในเรื่องของความภาคภูมิใจ (esteem) บางคนเรียกความต้องการนี้เรียกว่าความต้องการด้านอัตตา (ego needs) ในระดับสูงสุดของความต้องการทั้งหลายของคนเราคือ ความต้องการที่จะได้รับความสำเร็จ
2.ทฤษฎีขั้นบันไดแห่งการเดินทาง (Travel Career Ladder)
ผู้นำเสนอทฤษฎีนี้คือ Philip Pearce ในแต่ละขั้นเกิดขึ้นทั้งจากบุคคลเป็นผู้กำหนดเอง (Self - direcded) และมีอีกส่วนหนึ่งเป็นการชักนำหรือกำหนดโดยผู้อื่น (Other - direcded) ยกเว้นความต้องการในขั้นสูงสุดหรือความต้องการความสำเร็จแห่งตนหรือความต้องการที่จะได้รับความพึงพออใจสูงสุด (Fulfillment needs) เป็นขั้นที่เกิดจากความต้องการของตัวบุคคลเป็นผู้กำหนดเอง
3.แรงจูงใจวาระซ่อนเร้น (Hidden Agenda) ของ Crompton
Crompton ได้ทำการวิจัยเพื่อศึกษาถึงแรงจูงใจที่ผลักดันให้คนเรามีการเดินทางท่องเที่ยว เขาได้ทำการวิจัยนี้เมื่อปีค.ศ.1979 สรุปผลการวิจัยของเขาออกมาเป็นแรงจูงใจที่ทำให้เกิดการเดินทางที่เขาเรียกว่า วาระซ่อนเร้น หรือ Hidden Agenda มีบางส่วนคล้ายกับทฤษฎีแรงจูงใจของ Maslow
4.แรงจูงใจทางการท่องเที่ยวในทัศนะของ Swarbrooke
ในหนังสือเรื่อง Consumer Behaviour in Tourism ของ John Swarbrooke จำแนกแรงจูงใจสำคัญๆ ที่ทำให้คนเดินทางออกเป็น 6 ส่วนได้แก่
1.)แรงจูงใจทางด้านสรีระหรือทางกายภาพ (Physical)
2.)แรงจูงใจทางด้านวัฒนธรรม
3.)การท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองอารมณ์ความรู้สึกบางอย่าง (Emotional)
4.)การท่องเที่ยวเพื่อให้ได้มาเพื่อสถานภาพ (Status)
5.)แรงจูงใจในการพัฒนาตนเอง (Personal development)
6.)แรงจูงใจส่วนบุคคล (Personal)
ในการที่นักท่องเที่ยวจะเลือกแหล่งท่องเที่ยวแห่งใดแห่งหนึ่งไม่ได้เกิดจากแรงจูงใจอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว แต่การตัดสินใจที่จะไปท่องเที่ยวมักจะเกิดจากแรงจูงใจหลาย ๆอย่างในเวลาเดียวกัน สิ่งที่จะต้องระลึกไส้อีกอย่างหนึ่งก็คือแรงจูงใจที่นักท่องเที่ยวแสดงออก (Expressed motivation) อาจไม่ได้เป็นแรงจูงใจที่แท้จริง (Real motivation) ในบางครั้งคนเราจะต้องอาศัยแรงจูงใจร่วมกับผู้อื่น (Shared motivation) บางครั้งคนเราต้องเสียสละแรงจูงใจของตัวเองและโอนอ่อนผ่อนตามแรงจูงใจของผู้อื่น
แนวโน้วของแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว
Parce, Morrison และ Rutledge (1998) ได้นำเสนอแรงจูงใจของนักท่องเที่ยว 10 ประการดังต่อไปนี้
1.แรงจูงใจที่จะได้สัมผัสแวดล้อม
2.แรงจูงใจที่จะได้พบปะกับคนในท้องถิ่น
3.แรงจูงใจที่จะเข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่นและประเทศเจ้าบ้าน
4.แรงจูงใจที่จะเสริมสร้างสัมพันธภาพภายในครอบครัว
5.แรงจูงใจที่จะได้พักผ่อนในสภาพแวดล้อมที่น่าสบาย
6.แรงจูงใจที่จะได้ทำกิจกรรมที่นักท่องเที่ยวสนใจและฝึกทักษะ
7.แรงจูงใจที่จะมีสุขภาพดี
8.แรวจูงใจที่จะได้รับการคุ้มกันและความปลอดภัย
9.แรงจูงใจที่จะได้รับการยอมรับนับถือและได้รับสถานภาพทางสังคม
10.แรงจูงใจที่จะให้รางวัลแก่ตัวเอง
โครงสร้างพื้นฐานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
โครงสร้างพื้นฐานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว หมายถึง องค์ประกอบพื้นฐานในการรองรับการท่องเที่ยวทั้งระบบ ถือเป็นส่วนการสนับสนุนในการท่องเที่ยวสามารถดำเนินไปได้ด้วยดี และทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว
โครงสร้างพื้นฐานหลักๆ ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ได้แก่
1.ระบบไฟฟ้า
2.ระบบประปา
3.ระบบสื่อสารโทรคมนาคม
4.ระบบการขนส่ง
-ระบบการเดินทางทางอากาศ
-ระบบการเดินทางทางบก
-ระบบการเดินทางทางน้ำ
5.ระบบสาธารณสุข
ปัจจัยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวในแต่ละภูมิภาค
1.ปัจจัยทางภูมิศาสตร์
เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และเป็นปัจจัยที่สำคัญในการสร้างสรรค์ภูมิทัศน์ที่เป็นสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว ซึ่งปัจจัยสำคัญเหล่านี้ได้แก่
1.1 ลักษณะภูมิประเทศ เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกที่ไม่เท่ากันในแต่ละภูมิภาค ลักษณะภูมิประเทศจึงแตกต่างกัน ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงจากภายในเปลือกโลก ทำให้เกิดภูเขา การเปลี่ยนแปลงบริเวณผิวโลก ทำให้เกิดเนินทราย เป็นต้น
1.2 ลักษณะภูมิภาค เป็นผลมาจากสถานที่ตั้งของแต่ละภูมิภาคที่อยู่ตามเส้นละติจูดที่แตกต่างกัน ทำให้ภูมิอากาศมีความแตกต่างกัน
2.ปัจจัยทางวัฒนธรรม
ความแตกต่างทางวัฒนธรรมของแต่ละภูมิภาค ย่อมเป็นสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยวได้เช่นกัน

วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่ 2 ประวัติศาสตร์การท่องเที่ยวจากยุคเริ่มต้นถึงช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

บทที่ 2

ประวัติศาสตร์การท่องเที่ยวจากยุคเริ่มต้น

ถึงช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

การท่องเที่ยวเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจสามารถจะสืบย้อนได้ไปถึงสมัยที่ยังมีอาณาจักร Babylonian และอาณาจักร Egyptian หลักฐานที่สนับสนุนการกล่าวอ้างนี้ก็คือ ได้มีการก่อตั้งพิพิธภัณฑ์โบราณวัตถุ (historic antiquities) ขึ้นเพื่อให้คนทั่วไปได้เข้าชมในนคร Babylon เมื่อประมาณ 2,600 ปีมาแล้ว ก็มีการจัดงานเทศกาลทางด้านศาสนาซึ่งดึงดูดทั้งผู้ที่มีความเลื่อมใสและผู้ที่เพียงอยากมาชมตึกราม สิ่งก่อสร้างที่มีชื่อเสียงและผลงานทางด้านศิลปะในเมืองใหญ่ๆ ในอาญาจักรอียิปต์
นักท่องเที่ยวชาวกรีกมีการเดินทางเพื่อท่องเที่ยวเมื่อประมาณ 300 ปีก่อนครติสตกาล หรือ 2300 ปีมาแล้ว กรีกมีการปกครองในแบบนครรัฐ (City State) ที่เป็นอิสระต่อกัน จึงไม่มีผู้มีอำนาจปกครองส่วนกลางที่จะสั่งให้มีการสร้างถนน นักท่องเที่ยวส่วนมากจึงเดินทางทางเรือ ชาวกรีกเป็นอีกชาติหนึ่งที่ชื่นชอบงานเทศกาล เกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมทางด้านกีฬา ในช่วง 500 ปีก่อนคริสตกาล กรุงเอเธนส์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญสำหรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาสถานที่สำคัญ เช่น The Parthenon และมีที่พักแรมประเภทต่าง ๆ
ชาวโรมันก็มีการเดินทางกันอย่างกว้างขวางตั้งแต่ 3000 ปีก่อนคริสตกาลเนื่องจากความกว้างใหญไพศาลของอาณาจักรโรมัน ชาวโรมันในกรุงโรมนิยมเดินทางไปพักร้อนยังบ้านพักร้อนบนภูเขา ซึ่งจัดว่าเป็นบ้านหลังที่สองของชาวโรมัน ความรู้เกี่ยวกับการก่อสร้างถนนทำให้ชาวโรมันที่เป็นคนชั้นสูง และคนชั้นกลางได้มีโอกาสเดินทาง วัฒนธรรมของจักรวรรดิโรมันทำให้เกิดวัฒนธรรมการท่องเที่ยวแบบมหาชน (Mass tourism) ในคริสต์ศตวรรษที่ 2 โรมถึงจุดสูงสุดของความรุ่งเรืองจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวที่สำคัญของชาวโรมันในยุคนั้น คือ กรีก ชาวโรมันนิยมเดินทางไปชมความสำเร็จทางศิลปวิทยาการของชาวกรีก
การพัฒนาทางด้านการสื่อสารอย่างรวดเร็วประกอบกับชัยชนะของชาวโรมันทำให้ การเดินทางมีมากขึ้น การมีถนนชั้นเยี่ยมและสถานที่พักแรม (Inns) ทำให้การเดินทางมีความปลอดภัย รวดเร็ว และสะดวกขึ้น
อาณาจักรโรมันล่มสลายลงใน คศ.476 หรือในตอนกลางคริวศตวรรษที่ 5 ทวีปยุโรปเข้าสู่ยุคกลาง (The Middle Age) หรือยุคมืด (Dark Age)

มัคคุเทศก์และคู่มือนำเที่ยวในยุคต้น
ความรู้ที่เรามีเกี่ยวกับการเดินทางในสมัยแรก ๆ มาจากข้อเขียนนักประวัติศาสตร์และนักเดินทางที่มีความสำคัญที่มีชื่อว่า Herodotus ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วง 484 ปีถึง 424 ปีก่อนคริสตกาล บันทึกของ Herodotus ทำให้เราทราบว่ามัคคุเทศก์ในสมัยนั้นความรู้เกี่ยวกับสถานที่และเรื่องราวต่าง ๆ ไม่เท่าเทียมกันมีความแตกต่างกันทั้งในด้านคุณภาพของข้อมูล และความถูกต้องของข้อมูล
หนังสือคู่มือนำเที่ยวปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ 400 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งครอบคลุมแหล่งท่องเที่ยวในกรุงเอเธนส์ สปาร์ตา และเมืองทรอย นักเขียนเกี่ยวกับการท่องเที่ยวชาวกรีก ชื่อ Pausanias ได้เขียนหนังสือชื่อ Description of Greece ขึ้นในระหว่าง คศ.160 - 180 ซึ่งเป็นการวิจารณ์เกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกและแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ

การท่องเที่ยวในยุคกลาง
ยุคกลางคือช่วงที่อยู่ระหว่าง คศ.500-1500 หรือเป็นช่วงที่ต่อจากการล่มสลายของอาณาจักรโรมัน แต่ก่อนจะเข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ยุคกลางเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่ายุคมืด ช่วงเวลาดังกล่าวถนนหนทางถูกปล่อยให้ทรุดโทรมเศรษฐกิจตกต่ำแต่ศาสนาจักรโรมันคาทอลิค ทำให้ผู้คนเดินทางกันในระยะทางสั้น ๆ วัยหยุดเริ่มเข้ามีบทบาทในชีวิตของผู้คน คำว่า Holiday มีที่มาจากคำว่า Holy days ศาสนาโรมันคาทอลิคเป็นผู้กำหนดช่วงเวลาการหยุดเพื่อการพักผ่อนให้กับผู้ที่ศรัทธาในศาสนา แต่สำหรับชาวคาทอลิคทั่วไปการหยุดเพื่อการพักผ่อน หมายถึงการหยุดพักจากการทำงาน ไม่ใช่การเดินทางไปไหนมาไหน
คนชั้นสูงและคนชั้นกลางนิยมเดินทางเพื่อการแสวงบุญ (Pilgrimage) เป็นการเดินทางที่ไกลขึ้นสำหรับผู้ที่เคร่งศาสนาสถานที่ที่ผู้เลื่อมใสนิยมเดินทางไปได้แก่เมือง Winchester เมือง Walsingham และเมือง Canterbury จนกวีชื่อ Chaucer นำมาแต่งเป็นนิทานชื่อ Canterbury's Tales
ปัญหาที่นักเดินทางในยุคกลางต้องเผชิญคือ โจรผู้ร้ายที่คอยดักปล้นนักเดินทางมัคคุเทศก์ในสมัยนั้นจึงต้องทำหน้าที่เป็นผู้นำทาง (Pathfinder) และเป็นทั้งผู้ปกป้องนักเดินทางด้วยมัคคุเทศก์ในสมัยนั้นจึงได้รับค่าจ้างสูง
นอกจากนักแสวงบุญแล้วในยุคกลางยังมีนักเดินทางประเภทนักผจญภัยซึ่งเดินทางเพื่อแสวงหาชื่อเสียงและโชคลาภ พวกพ่อค้าเดินทางเพื่อค้าขาย พวกละครเร่ นักร้องนักดนตรี ยังชีพอยู่ได้ด้วยการให้ความบันเทิงเปลี่ยนที่ไปเรื่อย ๆ

การพัฒนาการคมนาคมทางถนนในคริสศตวรรษที่ 17 ถึงต้นศตวรรษที่ 19
ในช่วงก่อนที่จะถึงศตวรรษที่ 16 คนที่ต้องการเดินทางมีวิธีที่จะทำได้ 3 วิธีคือ ด้วยการเดินเท้าซึ่งเป็นวิธีเดินทางของคนจน วิธีที่สองคือการขี่ม้า และวิธีสุดท้ายคือ ใช้เสลี่ยงโดยมีคนรับใช้เป็นผู้แบกซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีเดินทางของชนชั้นสูงเท่านั้น หรือไม่ก็ใช้เกวียนเทียมด้วยม้า
การพัฒนารถม้า 4 ล้อที่มีระบบกันสะเทือนด้วยสปริงนับเป็นความก้าวหน้าครั้งใหญ่ สำหรับคนที่จะเป็นต้องเดินทาง การประดิษฐ์รถที่มีระบบกันสะเทือนอย่างง่ายที่สุดสามารถสืบย้อนไปได้ที่เมือง Koce ในประเทศฮังการี ในศตวรรษที่ 15 และในต้นศตวรรษที่ 17 รถม้า ตู้ทึบชนิด 4 ล้อ ก็มีการวิ่งบริการในประเทศอังกฤษ ระหว่างกรุงลอนดอนถึงอ๊อกซฟอร์ด
ในศตวรรษที่ 18 มีระบบทางด่วนที่ผู้โดยสารต้องจ่ายค่าผ่านทางเกิดขึ้น โดยทีการปรับปรุงผิวการจราจรทำให้รถตู้ 4 ล้อ ลากด้วยม้าซึ่งบรรทุกคนได้ระหว่าง 8-14 คน วิ่งได้ถึง 40 ไมล์
ประมาณ คศ.1815 ถนนหนทางในทวีปยุโรปมรการพัฒนาดีขึ้น เป็นผลสืบเนื่องจากการค้นพบประโยชน์ของยางมะตอย (Tarmacadam) ทำให้การเดินทางเร็วขึ้น มีการพัฒนาโดยสารสาธารณะที่เรียกว่า Charabanc เป็นครั้งแรกในปี คศ.1832

แกรนด์ทัวร์ (Grand Tour)
ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมาได้เกิดการท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากเสรีภาพและความต้องการที่จะเรียนรู้ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) ยุคที่มีระยะเวลาประมาณ 300 ปี เริ่มต้นในราวคริสต์ศตวรรษที่ 15 และสิ้นสุดลงในราวศตวรรษที่ 17 โดยมีอิตาลีเป็นแหล่งกำเนิดและเป็นแบบฉบับให้ประเทศเพื่อนบ้านคือ ฝรั่งเศส เยอรมันนี ยุโรปเหนือและอังกฤษ ระหว่าง ค.ศ.1701 ถึง 1789 คนชั้นสูงชาวอังกฤษที่จะส่งบุตรชายออกเดินทางไปต่างประเทศพร้อมกับอาจารย์ผู้สอนประจำตัว (Travelling tutors) การเดินทางแบบนี้เรียกว่า Grand Tour การเดินทางซึ่งใช้เวลา 3 ปี จุดหมายปลายทางคือประเทศอิตาลี
ในปี ค.ศ.1749 Dr.Thomas Nugent ได้ตีพิมพ์หนังสือคู่มือการท่องเที่ยวออกมาเล่มหนึ่งให้ชื่อว่า The Grand Tour หนังสือเล่มนี้ส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวเพื่อการศึกษามากขึ้น จุดประสงค์ของการเดินทางแบบ Grand Tour โดยเนื้อแท้แล้วเป็นการท่องเที่ยวเพื่อการแสวงหาความรู้ เมื่อถึงปลายศตวรรษที่ 18 ความนิยมในการเดินทางแบบนี้ก็กลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติ ในศตวรรษที่ 19 มีการค้นพบแหล่งท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพได้แก่ บ่อน้ำแร่ (spas) และที่พักตากอากาศ ประเภทรีสอร์ทชายทะเล

สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18-19
สังคมเริ่มเปลี่ยนจากเกษตรกรรมมาเป็นอุตสาหกรรม เกิดการล่าอาณานิคมขึ้น ที่พักแรมได้รับการพัฒนามาจามลำดับ กลายมาเป็นโรงแรมแทนที่ inns ต่าง ๆ มีการโยกย้ายถิ่นฐานไปยังดินแดนใหม่ ๆ นอกยุโรป
มีการพัฒนาประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำกับเรือกลไฟแบบกังหันข้างผสมใบ ทำให้เกิดการเดินทางได้เร็วขึ้น มีการพัฒนากิจการรถไฟและในปี ค.ศ.1841 โทมัส คุก (Thomus Cook) ได้จัดนำเที่ยวทางรถไฟแบบครบวงจรเป็นครั้งแรก ที่อังกฤษ ในขณะที่เฮนรี่ เวลส์ ก็จัดกิจการนำเที่ยวขึ้นในอเมริกาเช่นกัน

ยุคศตวรรษที่ 20
การท่องเที่ยวยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ความสะดวกสบายมีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเดินทาง ที่พักแรม เงินตรา เอกสารการเดินทาง ผู้คนหันมานิยมการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวมากขึ้น ทำให้การเดินทางด้วยรถไฟน้อยลง พัฒนาของอุตสาหกรรมการบิน ที่เริ่มขึ้นในยุโรปปี ค.ศ.1919 และเริ่มขนส่งผู้โดยสาร ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ช่วงหลังสงครามโลก ผู้คนออกเดินทางท่องเที่ยวเพื่อเยี่ยมชมสถานที่สำคัญทางการสงคราม